นลินี ทวีสิน
นลินี ทวีสิน | |
---|---|
ประธานผู้แทนการค้าไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2566 (1 ปี 97 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน (2566 - 2567) แพทองธาร ชินวัตร (2567 - ปัจจุบัน) |
ดำรงตำแหน่ง 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (1 ปี 183 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555 (0 ปี 141 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มกราคม พ.ศ. 2555 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (0 ปี 283 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล |
ถัดไป | นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 19 เมษายน พ.ศ. 2549 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (0 ปี 153 วัน) | |
เขตเลือกตั้ง | กรุงเทพมหานคร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2550 - 2551) เพื่อไทย (2551 - 2561,2566 - ปัจจุบัน) เพื่อธรรม (2561 - 2562) |
คู่สมรส | ปิตินันท์ ทวีสิน (หย่า)[1][2] |
ดร. นลินี ทวีสิน (สกุลเดิม มิสรา, 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503) เป็นนักการเมืองชาวไทย ตําเเหน่ง ประธานผู้แทนการค้าไทย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร และอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อธรรม
ประวัติ
[แก้]ดร.นลินี ทวีสิน ชื่อเล่น จอย[3] เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 เป็นบุตรของเดโอปราภาเดอร์ มิสรา กับสัมพันธ์ สุทธิภาค[1] [4] ซึ่งสกุลมิสราเป็นตระกูลนักธุรกิจเชื้อสายอินเดีย[5] ดร. นลินีได้สมรสกับปิตินันท์ ทวีสิน แต่สถานะทางกฎหมายของเธอคือหย่า[1] แต่เธอก็ยังใช้นามสกุล ทวีสิน ของอดีตสามีตามเดิม[2] โดยเธอใช้ชื่อและนามสกุลที่พ้องกับชื่อพี่สาวของเศรษฐา ทวีสิน ทั้งๆ ที่เธอมิได้มีความเกี่ยวดองกันแต่อย่างใด[6]
การศึกษา
[แก้]ดร. นลินี สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเมาต์เฮอร์มอน เมืองดาร์จีลิง ประเทศอินเดีย[7] และในระดับอุดมศึกษาจากสหรัฐทั้งหมด ประกอบด้วยระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์แมรี รัฐแมริแลนด์ (St. Mary’s College of Maryland), ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, ระดับปริญญาเอก สาขาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยรีเจนต์ (Regent University) รัฐเวอร์จิเนีย, และ Edward S. Mason Fellow มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด นอกจากนั้นยังผ่านการศึกษาอบรมในหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) รุ่นที่ 18 ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ. 2548) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 13 ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน และหลักสูตรพรรคการเมืองกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย สำหรับผู้บริหารพรรคการเมือง รุ่นที่ 4 (พปป.4) ของสถาบันพระปกเกล้า
การทำงาน
[แก้]ดร.นลินี ทวีสิน เคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง เช่น ผู้พิพากษาสมทบ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และประธานคณะทำงานการกระจายรายได้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 แต่ต้องถูกยกเลิกเนื่องจากการรัฐประหาร 19 กันยายน ต่อจากนั้นจึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์)
จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 125[8] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เธอได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 99[9]
ใน พ.ศ. 2561 ดร. นลินีได้ลาออกจากสมาชิกพรรค เพื่อไทย และย้ายมาสังกัด พรรคเพื่อธรรม พร้อมกับรับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคกระทั่งนาย สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคทำให้พ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ดร. นลินีจึงได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนต่อมาก่อนที่จะลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้พ้นจากตำแหน่งหัวหน้า พรรคเพื่อธรรม ในเวลาต่อมา [10] กระทั่งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 เธอได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค[11]
ดร.นลินี ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554[12] กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[13] กำกับดูแลสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเฉพาะสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เฉพาะสำนักโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ราชบัณฑิตยสถาน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ สำนักงานรับรองมาตรฐานและรับรองคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)[14] ต่อมาถูกปรับออกจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทยเป็นสมัยที่ 2 แทนนายวรวีร์ มะกูดี ที่ขอลาออกจากตำแหน่ง
ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 คณะรัฐมนตรีซึ่งนำโดยเศรษฐา ทวีสิน ได้แต่งตั้งให้ ดร. นลินีเป็นผู้แทนการค้าไทยเป็นสมัยที่ 3[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[16]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "8 เรื่องที่คุณไม่เคยรู้เกี่ยวกับ"นลินี" เรียกเธอว่า เจ้าแม่ซัคเซส ขอโทษทาวน์เฮ้าส์ราคาแค่4แสน" (Press release). มติชน. 15 มีนาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 "นลินี ทวีสิน VS นลินี (มิสรา) ทวีสิน" (Press release). แนวหน้า. 27 เมษายน พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ อึ้ง!“นลินี ทวีสิน” ใช้คอนโดฯตัวเอง-บ้านร้างตั้ง บ.ส่งออก-โอนหุ้นให้น้องชาย 42.6 ล้าน
- ↑ ดอกเตอร์ นลินี ทวีสิน - ข่าวไทยรัฐ
- ↑ ""นลินี ทวีสิน" ชื่อนี้มีแต้มต่อ "อยู่ครบ 4 ปี สตรีทุกสีเท่าเทียม"" (Press release). ประชาชาติธุรกิจ. 7 มีนาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'เป้าโผล่'ประเดิมเลย" (Press release). thairath. 20 มกราคม 2555. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ความรู้สึกของคนไทยที่เคยไปอินเดีย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-17. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อธรรม
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อธรรม (จำนวน ๑๐ ราย ๑. พลอากาศเอก สุเมธ โพธิ์ ฯลฯ)
- ↑ "แจก'63เก้าอี้'ข้าราชการการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2011-09-15.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ ""ปู"แบ่งงานรองนายกฯ-รมต.สำนักนายกฯ "นิวัฒน์ธำรง"ได้คุมสื่อรัฐ "นลินี"เสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-08. สืบค้นเมื่อ 2012-01-24.
- ↑ "เศรษฐา ตั้ง นลินี ทวีสิน นั่งที่ปรึกษานายกฯ-ผู้แทนการค้าไทย". ประชาชาติธุรกิจ. 13 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2023.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๘, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๖๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2503
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- ผู้แทนการค้าไทย
- สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อธรรม
- ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย
- คริสต์ศาสนิกชนนิกายโปรเตสแตนต์ชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากสถาบันพระปกเกล้า
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย